(ย้ายแล้วจ้า ไปอยู่ที่)
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

(ย้ายแล้วจ้า ไปอยู่ที่)

ประกาศย้ายเวบบอร์ดไปอยู่ที่ http://www.abhakara.com
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ในพระราชพิธี

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
d@eng navy22
Moderator
Moderator



จำนวนข้อความ : 221
Registration date : 30/07/2008

เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ในพระราชพิธี Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ในพระราชพิธี   เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ในพระราชพิธี Icon_minitimeThu Aug 28 2008, 22:10

พิณ พิณน้ำเต้า พิณเพียะ หรือ พิณเปี๊ยะ

เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ในพระราชพิธี
เครื่องดนตรีไทยโบราณ และ เครื่องดนตรีไทยที่ใช้ในพระราชพิธี หมายถึง เครื่องดนตรีไทย ที่ไม่ได้นำมา ใช้บรรเลง ในวงดนตรีไทย ในปัจจุบันนี้แล้ว หรือใช้เป็นบางโอกาส บางอย่างก็เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ และบางอย่าง ก็สำหรับใช้บรรเลง เฉพาะในงานพระราชพิธีต่าง ๆ เท่านั้น เครื่องดนตรีไทย ประเภทนี้ ได้แก่


พิณ เป็นเครื่องดนตรีที่มีกล่าวถึงไว้ในหลักศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในสมัยสุโขทัย ตอนหนึ่งว่า "เสียงพาทย์" "เสียงพิณ" เข้าใจว่าไทยคงจะได้รับแบบอย่างมาจากอินเดีย เพราะดูตามรูปศัพท์ของคำว่า "พิณ" เป็นคำในภาษาบาลี ของอินเดียและเข้าใจว่า พราหมณ์เป็นผู้นำเข้ามาเล่นกันก่อน เพราะมีเพลงไทยโบราณ เพลงหนึ่งชื่อว่า "พราหมณ์ดีดน้ำเต้า" พิณมี 2 ชนิด คือ


พิณน้ำเต้า เป็นพิณสายเดียว กระโหลกพิณทำจากผลน้ำเต้าผ่าครึ่ง เอาทางจุกหรือขั้วมาเจาะตรึงติดกับไม้คันพิณ หรือ "ทวน" ใช้สายยาวประมาณ 78 ซม. (เดิมเป็นสายหวายต่อมาใช้สายเอ็น) ขึผ่านจากด้านปลายไปยังด้านโคน (ด้านที่มีกระโหลก) ซึ่งมีลูกปิด 1 อัน สำหรับปิดสายให้ตึง หรือหย่อน เพื่อทำให้เสียงสูง หรือ ต่ำ วิธีเล่น เอากระโหลกพิณประกอบติดกับอกเบื้องซ้ายของผู้เล่น โดยใช้มือซ้ายจับคันทวน แล้วใช้มือกด หรือเผยอสายให้ตึงหรือหย่อน ใช้มือขวาดีดสายให้เกิดเสียง ดังนั้นผู้บรรเลงพิณจะต้องไม่สวมเสื้อ และคงจะต้องเป็นผู้ชายเท่านั้นที่เล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้


พิณเพียะ หรือ พิณเปี๊ยะ มีสายจำนวน 2 - 4 สาย เข้าใจว่ามีวิวัฒนาการมาจากพิณน้ำเต้า โดยการเพิ่มจำนวนสายเข้าไป คันทวนยาวประมาณ 1 เมตร กระโหลกพิณทำด้วยผลน้ำเต้าตัดครึ่ง เช่นเดียวกับพิณน้ำเต้า หรือทำด้วยกะลามะพร้าวก็มี วิธีเล่นก็เช่นเดียวกับการเล่นพิณน้ำเต้า ในสมัยก่อน ตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในแถบภาคเหนือของไทย เคยปรากฏมีผู้เล่นพิณเพียะในขณะที่ไป "เกี้ยวสาว" โดยการดีดพิณคลอเสียงขับร้อง



กระจับปี่ เกราะ โกร่ง ฆ้องราง กลองชนะ

กระจับปี่ เป็นเครื่องดีดมี 4 สาย เมื่อพิจารณารูปร่างของเครื่องดนตรีชนิดนี้แล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะมีวิวัฒนาการมาจากพิณ 4 สาย (พิณพื้นเมืองของภาคเหนือ และภาคอีสาน ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากพิณเพียะอีกทีหนึ่ง) โดยการประดิษฐ์ขัดเกลา รูปร่างให้ปราณีต สวยงามขึ้น เหมาะสมกับการที่จะนำไปใช้ในพระราชสำนัก สำหรับพระราชพิธีต่าง ๆ ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงกระจับปี่ไว้ในกฏมณเฑียรบาล ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยาว่า "...ร้องเพลงเรือ เป่าปี่ เป่าขลุ่ย สีซอ ดีดจะเข้ กระจับปี่ ตีโทน ทับโห่ร้องนี่นั่น..." คำว่า "กระจับปี่" คงจะมาจากคำว่า "กัจฉปิ" ในภาษาชวา โดยที่คำว่า กัจฉปิ ก็มาจากคำว่า "กัจฉปะ" ในภาษาบาลีสันสกฤต ซึ่งแปลว่า "เต่า" ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ กะโหลกมีรูปร่างคล้ายกระดองเต่า ต่อมาไทยจึงเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้เป็น "กระจับปี่" ในที่สุด


เกราะ เป็นเครื่องตีทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ยาว 1 ปล้อง ไว้ข้อหัวท้าย คว้านกระบอกผ่าบากท้องปล้องยาวไปตามลำ ใช้ตีด้วยไม้ไผ่ ผ่าซีกหรือ ไม้แก่น มือหนึ่งถือเกราะ อีกมือหนึ่งถือไม้ตี อย่างที่เรียกว่า "ตีเกราะ เคาะไม้" เพราะใช้สำหรับตีบอกเวลา และเป็นอาณัติสัญญาณบอกเหตุ หรือนัดหมายการประชุมตามหมู่บ้านในสมัยก่อน ไม่เคยปรากฏว่าใช้บรรเลงร่วมในวงดนตรี


โกร่ง เป็นเครื่องรีทำด้วยไม้ไผ่ เช่นเดียวกับเกราะแต่ใช้ไม้ไผ่จำนวนหลายปล้อง (ยาวประมาณ 1 - 2 วา) ปากเป็นรูยาวไปตามปล้องไม้ไผ่ (เว้นตรงข้อ) ทุกปล้อง เวลาตีวางลำราบไปตามพื้นโดยมีไม้รองหัวท้าย (บางทีถ้าเป็นโกร่งขนาดยาวมาก ต้องมีไม้รองตอนกลางด้วย) ใช้ไม้ตีซึ่งเป็นซีกไม้ไผ่เกลากลมเกลี้ยง หรือจะใช้ซอไม้รวก หรือไม้แก่นเหลาขนาดเหมาะสมก็ได้ โกร่งใช้ตีประกอบจังหวะในวงปี่พาทย์ประกอบการแสดงโขน และหนังใหญ่โดยเฉพาะในการบรรเลงเพลงกน้าพาทย์ตอนตรวจพบ และในสมัยก่อนใช้ตีประกอบการร้องเชิญแม่ศรี ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์


ฆ้องราง เป็นเครื่องตีที่เข้าใจว่าวิวัฒนาการมาจากฆ้องคู่ โดยเพิ่มจำนวนลูกเป็น 7 ลูก ผูกเรียงหนึ่งไปตามความยาวของราง เทียบเสียงเรียงต่ำไปหาสูงตามลำดับครบ 7 เสียง บางรางอาจมีฆ้อง 8 ลูก ปัจจุบันฆ้องชนิดนี้ไม่ได้นำมาใช้บรรเลงแล้ว


กลองชนะ มีรูปร่าง และส่วนประกอบเช่นเดียวกับกลองแขก และกลองมลายู แต่ตัวกลองสั้นและอ้วนกว่ากลองทั้ง 2 ดังกล่าวตามลำดับ และมีการทาสีปิดทองเขียนลายไว้ที่ตัวกลอง และที่หน้ากลองด้วย เวลาตีใช้ไม้งอโค้งตีเหมือนกลองมลายู แต่เดิมคงใช้กลองชนิดนี้ตีเป็นจังหวะ ในการฝึกหัดเพลงอาวุธสำหรับทหาร จึงเรียกชื่อว่า "กลองชนะ" เพื่อเป็นมงคลนิมิตแก่กองทัพ ต่อมาใช้เป็นเครื่องประโคมในกระบวนเสด็จพยุหยาตรา และใช้ประโคมพระบรมศพ และศพเจ้านายด้วย
ขึ้นไปข้างบน Go down
d@eng navy22
Moderator
Moderator



จำนวนข้อความ : 221
Registration date : 30/07/2008

เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ในพระราชพิธี Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ในพระราชพิธี   เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ในพระราชพิธี Icon_minitimeThu Aug 28 2008, 22:12

บัณเฑาะว์ เป็นกลองชนิดหนึ่ง เข้าใจว่าไทยเราคงจะได้เครื่องดนตรีนี้มาจากอินเดีย เพราะคำว่าบัณเฑาะว์มาจากคำบาลีว่า "ปณวะ" ปรากฏหลักฐานมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ตัวกลองทำด้วยไม้จริง หัวและท้ายใหญ่มีหบังขึ้นหน้าไว้ทั้ง 2 ด้าน ตรงกลางคอดและมีหลักยาว ทำด้วยไม้หรืองา ยึดติดไว้ด้านหนึ่งเป็นด้ามสำหรับถือ ตรงปลายด้ามใช้เชือกผูก โดยที่ปลายเชือกนี้ผูกลูกตุ้มเล็ก ๆ ไว้ เวลาเล่นใช้มือถือไกวด้วยการพลิกข้อมือกลับไปกลับมา ลูกตุ้มที่ปลายเชือกโยนตัวไปมา กระทบหน้ากลองทั้ง 2 ข้าง บัณเฑาะว์ใช้ไกวเป็นจังหวะในการบรรเลง "ขับไม้" ในงานพระราชพิธี เช่น สมโภชพระมหาเศวตฉัตร สมโภชพระยาช้างเผือก เป็นต้น ทั้งนี้อาจใช้บัณเฑาะว์ลูกเดียว หรือ 2 ลูก ก็ได้


มโหระทึก เป็นกลองชนิดหนึ่ง มีหน้าเดียว และหล่อด้วยโลหะ ไม่ขึงหนังเหมือนกลองทั่ว ๆ ไป ตัวกลองเป็นโลหะผสมประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว และดีบุกผสมตามเกณฑ์ แล้วหลอมเทหล่อลงในแบบที่ทำไว้ บนหน้ากลองมีโลหะหล่อเป็นตัวกบอยู่ประจำ 4 ทิศ ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่า กลองชนิดนี้แต่เดิมคงสร้างขึ้นสำหรับตีขอฝน เพราะเชื่อกันว่า เมื่อกบร้องแล้วจะเป็นเหตุให้ฝนตก (เสียงกลองเป็นเสมือนเสียงกบร้อง) กลองมโหระทึกนี้ ไทยเรานิยมใช้ตีประโคมทั้งงานหลวง และงานราษฎร์มาแต่โบราณ (ปรากฏหลักฐานมีกล่าวถึงไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงสมัยสุโขทัย) และในปัจจุบันยังคงใช้ตีประโคมร่วมกับแตรสังข์ ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น ในโอกาสที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา เป็นต้น ในการใช้ไม้ตี 2 อัน ทำด้วยไม้รวก หรือไม้จริงเหลากลมเกลี้ยง ขนาดพอเหมาะ ตรงปลายที่ใช้ตีพันด้วยผ้าจนแน่นแล้วผูกเคียน หรือถักด้วยด้าย


ปี่อ้อ เป็นปี่โบราณของไทยอย่างหนึ่ง ตัวปี่ (เลา) ทำด้วยไม้รวกปล้องเดียว ไม่มีข้อ ยาวประมาณ 24 ซม. เขียนลวดลายด้วยการลนไฟให้ไหม้เกรียมเฉพาะที่ต้องการ หัวท้ายเลี่ยมด้วยทองเหลือง หรือเงิน เพื่อป้องกันมิให้แตกง่าย ด้านหน้าเจาะรูสำหรับปิดปรือเปิดนิ้ว เปลี่ยนเสียง 7 รู และด้านหลังมีรูนิ้วค้ำ (เช่นเดียวกับขลุ่ย) อีก 1 รู ลิ้นทำด้วยไม้อ้อลำเล็ก ๆ ยาวประมาณ 5 ซม. ด้านหนึ่งเหลาให้บาง อีกด้านหนึ่งกลม และมีด้ายพันเพื่อให้กระชับพอดีกับรูปี่ เดิมเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงเครื่องสาย ภายหลังนิยมใช้ขลุ่ยในวงเครื่องสาย ปี่อ้อจึงหายไป


ปี่ไฉน เป็นปี่ 2 ท่อน สวมต่อกัน ท่อนบนเรียวยาวเรียก "เลาปี่" ท่อนล่างบานปลายเรียก "ลำโพง" ทำด้ายไม้และงาก็มี ที่เลาปี่มีรูสำหรับปิดเปิดนิ้วเปลี่ยนเสียง 7 รู รูนิ้วด้านหลังอีก 1 รู ลิ้นปี่ทำเหมือนลิ้นปี่ไทย คือ มีกำพวดผูกลิ้นใบตาลเหมือนกัน แต่มี "กระบังลม" ซึ่งทำด้วยโลหะหรือกะลา สวมไว้ด้วยสำหรับรองลมฝีปากในขณะเป่า เข้าจว่าไทยได้แบบอย่างปี่ชนิดนี้มา จากอินเดีย ปัจจุบันปี่ไฉนใช้ในงานพระราชพิธี เช่น ใช้เป่านำในขบวนแห่พระบรมศพ หรือศพเจ้านาย
ขึ้นไปข้างบน Go down
d@eng navy22
Moderator
Moderator



จำนวนข้อความ : 221
Registration date : 30/07/2008

เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ในพระราชพิธี Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ในพระราชพิธี   เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ในพระราชพิธี Icon_minitimeThu Aug 28 2008, 22:12

แตร เป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยโลหะ ใช้ในงานพระราชพิธีมาแต่โบราณ มี 2 ชนิด คือ แตรงอน และ แตรฝรั่ง

แตรงอน มีรูปร่างโค้งงอน ตอนปลายบาน เข้าใจว่าประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบมาจากเขาสัตว์ ซึ่งเป็นเครื่องเป่าดั้งเดิมของมนุษย์ ไทยเราคงจะได้แบบอย่างเครื่องดนตรีนี้มาจากอินเดีย เพราะอินเดียมีแตรรูปนี้สำหรับเป่าเป็นสัญญาณในขบวนแห่ และในงานพระราชพิธี ปัจจุบันแตรงอนใช้เป่าร่วมกับสังข์ในงานพระราชพิธี เช่น ในงานเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตรา และในขบวนแห่อื่น ๆ ในการนี้จะต้อง "เป่าแตรสังข์" เป็นเครื่องประโคมสำหรับพระราชอิสริยยศด้วย



แตรฝรั่ง มีลักษณะปากบานคล้ายดอกลำโพง ในหนังสือ กฎมณเฑียรบาล โบราณเรียกแตรชนิดหนึ่งว่า "แตรลางโพง" และในหมายรับสั่งครั้งรัชกาลที่ 1 เรียกว่า "แตรวิลันดา" คงจะเป็นแตรที่ชาวฮอลันดานำเข้ามาเมืองไทยเป็นครั้งแรก เข้าใจว่าคงเป็นแตรชนิดเดียวกันนี้ และเหตุที่เรียกเครื่องดนตรีนี้ว่า "แตร" นั้นคงจะเรียกตามเสียงที่ได้ยิน แตรฝรั่งใช้เป่าร่วมกับแตรงอน และสังข์ ในงานพระราชพิธีเช่นกัน



สังข์ เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง ทำจากเปลือกหอยสังข์ โดยนำมาขัดให้เกลี้ยงเกลา แล้วเจาะก้นหอยให้ทะลุเป็นรูสำหรับเป่า ไทยเราคงได้แบบอย่าง และการใช้เครื่องดนตรีชนิดนี้มาจากอินเดีย การเป่าสังข์ ถือว่าเป็นของขลังศักดิ์สิทธิ์ ใช้เฉพาะงานทีมีเกียรติศักดิ์สูง และใช้เป่าคู่กันกับแตรมาตลอด
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
เครื่องดนตรีไทย ที่ใช้ในพระราชพิธี
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
(ย้ายแล้วจ้า ไปอยู่ที่) :: ห้องโถงพักผ่อน :: ห้องดนตรีและนาฏศิลป์-
ไปที่: