(ย้ายแล้วจ้า ไปอยู่ที่)
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

(ย้ายแล้วจ้า ไปอยู่ที่)

ประกาศย้ายเวบบอร์ดไปอยู่ที่ http://www.abhakara.com
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Bluemoon
Moderator
Moderator
Bluemoon


จำนวนข้อความ : 882
Registration date : 23/07/2008

ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า   ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า Icon_minitimeFri Aug 29 2008, 17:09

ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า 31503382


ชุมเห็ดเทศ

ชื่อสามัญ ชุมเห็ดใหญ่ , ชุมเห็ด, ลับหมื่นหลวง, ชี้คาก , หญ้าเล็บหมื่นหลวง ,หมากกะลิงเทศ(เหนือ), ตะลี่พอ, Golden Bush, Ringworm Bush

ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna alata (L.) Roxb.

ชื่อวงศ์ Caesalpiniaceae (Leguminosae)

ชื่ออังกฤษ Acapulo, Candelabra bush, Candle bush, Ringworm bush



ลักษณะ เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 3 เมตร ใบประกอบแบบขนนก ขนาดใหญ่ ใบย่อยรูปขอบขนาน ดอกช่อสีเหลืองชูตั้ง ความยาวของฝักประมาณ 4 นิ้ว เป็นจีบ เมื่อแก่จะแตกออก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เกิดตามที่ราบลุ่ม ริมน้ำทั่วไป

สรรพคุณ

ใบ รสเบื่อเอียน

บดผสมกระเทียม หรือน้ำปูนใสทาแก้กลากเกลื้อน

ดองสุราหรือปิ้งไฟ ชงน้ำดื่ม เป็นยาระบาย และสมานธาตุ

ดอก รสเอียน เป็นยาระบาย

ฝัก รสเบื่อเอียน แก้พยาธิ ระบาย ขับถ่ายพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน

ต้น รสเบื่อเอียน ขับพยาธิในท้อง

ต้น ราก ใบ รสเบื่อเอียน แก้กระษัยเส้น ทำหัวใจให้ปกติ แก้ท้องผูก ขับปัสสาวะ

สาระสำคัญ ใบ มี Anthruquinono เช่น aloo- emodin,chrysophenol, emodin, rhein& tannin



ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.school.net.th
ขึ้นไปข้างบน Go down
http://www.princeabhakara.org
Bluemoon
Moderator
Moderator
Bluemoon


จำนวนข้อความ : 882
Registration date : 23/07/2008

ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า   ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า Icon_minitimeFri Aug 29 2008, 17:12

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

1. ฤทธิ์เป็นยาถ่าย

เมื่อทดลองให้หนูกินสารสกัดจากใบชุมเห็ดเทศด้วยสารสกัดน้ำร้อนขนาด 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบฤทธิ์ระบาย (1) นอกจากนี้มีการทดลองด้วยการฉีดสารสกัดจากชุมเห็ดเทศด้วยน้ำร้อน ในขนาด 800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบผลเช่นเดียวกัน (2) พบสาร anthraquinone glycoside จากใบได้แก่ Isocrysophanol, physcion-l-glycoside, chrysophanol, emodine, rhein, aloe-emodin (3-9) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย (10)

2. ฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้

สารสกัด glycoside จากใบชุมเห็ดเทศ มีฤทธิ์กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบในลำไส้ (3)

3. การทดลองทางคลินิก ใช้รักษาท้องผูก

ทางสำนักงานสาธารณสุขมูลฐาน ได้ทดลองผลของใบชุมเห็ดเทศ โดยนำยาชงถุงละ 3-4 กรัม มาชงน้ำเดือด 120 ซี.ซี. ทิ้งไว้นาน 10 นาที เปรียบเทียบระหว่าง placebo 23 ราย Mist. alba 7 ราย และชุมเห็ดเทศ 12 ราย พบว่าชุมเห็ดเทศให้ผลดีกว่า placebo และให้ผลเท่ากับกลุ่ม Mist. alba อาจมีท้องเสียร่วมด้วย แต่ผู้ป่วยพอใจชุมเห็ดเทศมากกว่า Mist. alba (11)

4. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย

น้ำมันหอมระเหยจากใบชุมเห็ดเทศ (12) สารสกัดเปลือกต้นด้วยเมทานอล (13) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis ด้วยวิธี disc diffusion พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อดังกล่าวได้ปานกลาง (12, 13) สารสกัดน้ำจากใบชุมเห็ดเทศ เมื่อนำมาทดสอบกับเชื้อ E. coli ที่เป็นสาเหตุให้ลูกหมูท้องเสีย ในจานเพาะเลี้ยงเชื้อ พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อดังกล่าวได้โดยใช้ความเข้มข้นมากกว่า 21.8 มก./มล. (14)

5. ฤทธิ์ต้านเชื้อรา

มีผู้ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดชนิดต่างๆของใบชุมเห็ดเทศ ในการต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคกลาก คือ Trichophyton mentagrophytes โดยใช้สารสกัดด้วยน้ำของใบชุมเห็ดเทศ (15, 16) สาร rhein, emodol, 4,5-dihydroxy-1-hydroxymethylanthrone และ 4,5-dihydroxymethylanthraquinone (16) สามารถต้านเชื้อราที่เป็นต้นเหตุของโรคผิวหนังได้ (15, 16) สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50% จากทุกส่วนของชุมเห็ดเทศ (17) สารสกัดด้วยคลอโรฟอร์ม, อีเทอร์, แอลกอฮอล์ และน้ำพบว่าสามารถต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคกลากได้เช่นกัน (18-20) ในชุมเห็ดเทศมี chrysophanol (5, 8, 9) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา (21)

สารกัดเอทานอล aloe-emodin, rhein (22, 23) และ chrysophanol (22) จากใบชุมเห็ดเทศ สามารถต้านเชื้อรา Epidermophyton floccosum, Microsporium gypseum, Trichophyton rubrum (22, 23), T. mentagrophytes, และM. canis (22) ที่ทำให้เกิดโรคกลาก เกลื้อน ด้วยวิธี broth dilution เมื่อเทียบกับยามาตรฐาน Tolnaftate (23) ซึ่งพบว่า rhein ให้ผลยับยั้งเชื้อรา E. floccosum, T. mentagrophytes, T. rubrum ได้ดีที่สุด (ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่มีฤทธิ์ยับยั้ง (MIC) เท่ากับ 156 มคก./มล.) (22) ส่วนสารสกัดใบด้วยเอทานอล แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา E. floccosum, T. mentagrophytes, T. rubrum ที่ MIC เท่ากับ 1,250, 625 และ 2,500 มคก./มล. ตามลำดับ (22) สารสกัดใบชุมเห็ดเทศด้วยเอทานอล เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา T. mentagrophytes var interdigitale, T.mentagrophytes var mentagrophytes, T. rubrum, Microsporium gypseum ด้วยวิธี liquid dilution method พบว่า MIC ต่อเชื้อดังกล่าวมีค่าเท่กับ 125 มก./มล. ในขณะที่ค่า MIC ต่อเชื้อ M. canis มีค่าเท่ากับ 62.5 มก./มล. (24) สารสกัดเอทานอล และสารแอนทราควิโนน (25) สารสกัดเอทานอล ความเข้มข้น 0.104 มก./มล. (26) จากใบชุมเห็ดเทศ เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา T. rubrum (25) M. gypseum (26) ที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนัง ด้วยวิธี disc diffusion พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อราดังกล่าวได้เมื่อเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน ketoconazole (25, 26) และ Itraconazole (26)

สารสกัดใบชุมเห็ดเทศด้วยเมทานอล เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา T. mentagrophytes (27) T. rubrum, M. gypseum (28) ด้วยวิธี agar dilution พบว่า MIC มีค่าเท่ากับ 15 มก./มล. (27) ED50 ในการต้านการเจริญเติบโตของเชื้อ T. rubrum, M. gypseum มีค่าเท่ากับ 0.49, 0.81 มก./มล. และสามารถยับยั้งการพัฒนาการเป็นเชื้อราของ M. gypseum ซึ่งมีค่า ED50 เท่ากับ 0.09 มก./มล. (28)

ส่วนสกัดกลัยโคไซด์ (I) สารแอนทราควิโนน อะกลัยโคน (II) สารสกัดเอทานอล (III) สารแอนทราควิโนน (IV) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา T. mentagrophytes,T. rubrum,M. gypseum, E. floccosum ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถต้านเชื้อราดังกล่าวได้ โดยที่ II > IV > III > I ซึ่งสารแอนทราควิโนน อะกลัยโคน มีค่า MIC ต่อเชื้อ T. mentagrophytes,T. rubrum,M. gypseum, E. Floccosum เท่ากับ 0.344, 0.188, 0.344 และ 0.125 มก./มล. ตามลำดับ (29)

--- ต่อ ---
ขึ้นไปข้างบน Go down
http://www.princeabhakara.org
Bluemoon
Moderator
Moderator
Bluemoon


จำนวนข้อความ : 882
Registration date : 23/07/2008

ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า   ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า Icon_minitimeFri Aug 29 2008, 17:13

6. ฤทธิ์ต้านยีสต์

สารสกัดน้ำจากเปลือกต้นชุมเห็ดเทศ ความเข้มข้น 15, 20, 25, 30 มคก./มคล. เมื่อนำมาทดสอบด้วยวิธี disc diffusion พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อยีสต์ Candida albicans ได้ โดยความเข้มข้นของสารสกัดที่ 30 มคก./มคล. จะให้ผลดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน Ticonazole ที่ความเข้มข้น 30 มคก./มคล. เท่ากัน (30) แต่สารสกัดใบด้วยเอทานอลไม่มีฤทธิ์ยับยั้งยีสต์ (22, 24)

7. การทดลองทางคลินิก ใช้รักษากลากเกลื้อน

ใช้สารสกัดจากแอลกอฮอล์และครีมที่มีความเข้มข้น 20% สำหรับรักษาคนไข้ พบว่าหาย 100% แต่ยังไม่สามารถรักษาราที่เล็บ และที่หนังศีรษะ (18) ศึกษาในคน 200 คน ทั้งเพศชาย และหญิง อายุ 16-60 ปี ที่เป็นโรคเกลื้อน ชนิด (Pityraisis versicolor) ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Malassezia furfur เมื่อใช้สารสกัดน้ำใบชุมเห็ดเทศ ความเข้มข้น 100% ทาบริเวณแขน ขา ความเข้มข้น 90% ทาบริเวณคอ และมือ ความเข้มข้น 80% ทาบริเวณหน้า โดยทาวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน (2 ชั่วโมงก่อนนอน และล้างออกในตอนเช้าโดยไม่ต้องฟอกสบู่) พบว่าภายใน 2-3 สัปดาห์ บริเวณที่เป็นผื่นจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่รอยโรคยังปรากฏอยู่ และสีผิวจะปรับเข้าสู่ในสภาพปกติต้องใช้เวลาในการรักษาประมาณ 10-12 เดือน (31)

8. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
8.1 การทดสอบความเป็นพิษ

มีผู้ศึกษาความเป็นพิษของชุมเห็ดเทศหลายกลุ่ม และรายงานผลต่างๆ ดังนี้ ไม่พบพิษของสารสกัดใบด้วยอัลกอฮอล์ (85%) เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องหนูถีบจักรในขนาด 2 ก./กก. (20, 32, 33) หรือสารสกัดใบด้วยอัลกอฮอล์ (50%) เมื่อให้หนูถีบจักรกิน หรือฉีดใต้ผิวหนังในขนาด 10 ก./กก. (34) ขนาดของสารสกัดที่อยู่เหนือดินด้วยอัลกอฮอล์ (50%) ที่ทำให้หนูถีบจักรตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งคือ 1 ก./กก. เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้อง (17) เมื่อให้สารสกัดจากใบด้วยอัลกอฮอล์ (50%) แก่หนูถีบจักรทางปาก ขนาด 15 ก./นน.ตัว 1 กก. ไม่พบอาการพิษเฉียบพลันหรือความผิดปกติใดๆ ขนาดของสารสกัดที่ทำให้หนูถีบจักรตายร้อยละ 50 เมื่อให้ทางปากและใต้ผิวหนังมีค่ามากกว่า 15 ก./นน.ตัว 1 กก. และทางช่องท้องเท่ากับ 8.03 ก./กก. การทดสอบพิษกึ่งเฉียบพลัน พบว่าเมื่อฉีดสารสกัดเอทานอล (50%) เข้าช่องท้องหนูขาวในขนาด 0.03, 0.15 และ 0.75 ก./วัน ซึ่งเท่ากับ 1, 5, 15 เท่าของขนาดใช้ในคน ไม่พบความผิดปกติใดๆ (35) และเมื่อให้สารสกัดใบด้วยน้ำ เข้าช่องท้องหนูถีบจักร โดยมีค่า LD50905.4 มก./กก. (36) เมื่อป้อนสารสกัดใบชุมเห็ดเทศด้วยอัลกอฮอล์ (50%) เข้าช่องท้องหนูขาว ในขนาด 125 มก./กก. ไม่ทำให้แท้ง ไม่เป็นพิษต่อตัวอ่อน แต่การเปลี่ยนแปลงของรอบเดือนไม่ชัดเจน (37) ในการทดลองฤทธิ์เป็นยาระบายของชุมเห็ดเทศ พบอาการไม่พึงประสงค์ คือคลื่นไส้ มวนท้อง ปวดท้อง ท้องเสีย (11)

8.2 พิษต่อตับ

Yagi และคณะ ได้ศึกษาพิษของใบชุมเห็ดเทศ พบว่าเป็นพิษต่อหนูขาว สารสกัดเอทานอลและสารที่แยกได้ เป็นพิษต่อตับไตโดย anthraquinone ที่มีอยู่หลายชนิด จะเสริมฤทธิ์กัน (38)

8.3 พิษต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง

เมื่อให้หนูขาวกินสารสกัดใบด้วยน้ำ ในขนาด 10, 50, 100, 150 มก./กก. เป็นเวลา 14 วัน พบว่ามีผลลดปริมาณ haemoglobin และเม็ดเลือดแดง เพิ่ม packed cell volume(PCV), mean corpuscular volume (MCV) และ mean corpuscular haemoglobin concentration (MCHC) แต่ mean corpuscular haemoglobin (MCH) ไม่เปลี่ยนแปลง และมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซึ่งอาจเนื่องมาจาก saponin (39)

8.4 พิษต่อเซลล์

การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ Vero ใช้สารสกัดใบด้วยน้ำ พบว่าเป็นพิษต่อเซลล์ โดยมีค่า CD50 1,414 มคก./มล. (40)

8.5 ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

สารสกัดใบชุมเห็ดเทศด้วยเอทานอล มีผลก่อกลายพันธุ์ Salmonella typhimurium strain TA98 (41) และพบว่าสารสกัดชุมเห็ดเทศด้วยอัลกอฮอล์ มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ S. typhimurium strain TA98 และ TA100 ในแบบที่ต้องการเอนไซม์จากตับหนูกระตุ้นการออกฤทธิ์ (42) สารสกัดที่ได้จากการต้มชุมเห็ดเทศ ไม่มีฤทธิ์ต้านสารก่อกลายพันธุ์ที่ทดสอบกับเชื้อ S. typhimurium strain TA98 (43) แต่ส่วนสกัดดอกที่ไม่ละลายในเมทานอล (ไม่ระบุขนาด) (44) สารสกัดใบด้วยคลอโรฟอร์ม หรือเอทานอล ขนาด 100 มก./กก. และสารสกัดด้วยเฮกเซน ขนาด 50 มก./กก. เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่ามีฤทธิ์ต้านสารก่อกลายพันธุ์ (45)
ขึ้นไปข้างบน Go down
http://www.princeabhakara.org
Bluemoon
Moderator
Moderator
Bluemoon


จำนวนข้อความ : 882
Registration date : 23/07/2008

ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า   ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า Icon_minitimeFri Aug 29 2008, 19:02

การใช้ชุมเห็ดเทศรักษาอาการท้องผูก

1. ใช้ดอก 2-3 ช่อ ต้มกินกับน้ำพริก (21)

2. ใช้ใบ 8-12 ใบ ตากแดดให้แห้ง ป่นเป็นผงชงกับน้ำเดือดรินน้ำดื่ม (46)

3. ใช้ดอก 1 ช่อ กินสดๆ เป็นยาระบาย (47)

4. ใช้ใบและก้านขนาดใหญ่ ประมาณ 3-5ช่อ นำมาต้มกับน้ำประมาณ 2 ขัน (1500 ซี.ซี.) ต้มให้เดือดเหลือน้ำประมาณ 1/2 ขัน ใส่เกลือพอมีรสเค็มเล็กน้อย ดื่มวันละ 1 แก้ว (250 ซี.ซี.)ครั้งต่อไป รับประทานดอกครั้งละประมาณ 1 ช่อ (48)

5. ใช้ใบสดหรือแห้งประมาณ 12 ใบ ต้มกับน้ำดื่มครั้งละแก้ว หรือใช้ดอกสดประมาณ 3 ช่อ ลวกรับประทาน (46)

ข้อควรระวัง

ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ลำไส้เคยชินกับยา ทำให้ลำไส้ไม่ทำงานถ้าไม่ใช้ยา
ขึ้นไปข้างบน Go down
http://www.princeabhakara.org
Bluemoon
Moderator
Moderator
Bluemoon


จำนวนข้อความ : 882
Registration date : 23/07/2008

ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า   ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า Icon_minitimeFri Aug 29 2008, 19:05

การใช้ชุมเห็ดเทศรักษากลาก เกลื้อน


1. นำใบสดมาตำให้ละเอียดใช้ทาบริเวณที่เป็นกลากหรือผื่นคัน (49)

2. นำใบชุมเห็ดเทศ 3-4 ใบ มาตำให้ละเอียดเติมน้ำมะนาวนิดหน่อย ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง (50)

3. ใช้ใบสดขยี้ถูนานๆ และบ่อยๆตรงบริเวณที่เป็น (51)



ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
วันดี กฤษณพันธ์ แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ มัลลิกา ไตรเดช สุภาวี อาชวาคม. การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารแอนทราควิโนนจากใบชุมเห็ดเทศ. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24 19-21 ตุลาคม 2541. ณ. ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ กรุงเทพฯ

กองวิจัยทางการแพทย์. สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1. กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาตร์การแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข, 2526, หน้า 34.
ขึ้นไปข้างบน Go down
http://www.princeabhakara.org
 
ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรที่มีคุณค่า
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
(ย้ายแล้วจ้า ไปอยู่ที่) :: ส่วนอื่น :: สวนสมุนไพร-
ไปที่: